Error message

Deprecated function: The each() function is deprecated. This message will be suppressed on further calls in menu_set_active_trail() (line 2385 of /home/budnetorg/domains/budnet.org/public_html/sunset/includes/menu.inc).

หลักการที่จะช่วยให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้จากไปอย่างสงบทำอย่างไรได้บ้าง

-A +A

คำถาม : ขอเรียนถามว่า หลักการที่จะช่วยให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้จากไปอย่างสงบทำอย่างไรได้บ้างคะ

 

พระไพศาล วิสาโล : ๑. ขจัดสิ่งเป็นลบ สิ่งรบกวน ห่วงกังวล ออกจากจิตใจเขาให้มากที่สุด 

          ตัวอย่างเช่น ดีเจโจ้ (อัครพล ธนะวิทวิลาส) แม้ว่าร่างจะเหมือนกับตายแล้ว แต่คนที่ยังอยู่คือแฟนร้องไห้ บอกว่าอย่าเพิ่งไปนะ เขาจึงต้องทน จนกระทั่งแฟนบอกว่าไม่ต้องห่วงแล้ว เขาจึงจากไปด้วยดี เพราะสามารถปล่อยวางได้ ไม่ต้องห่วง 

          อีกรายหนึ่ง พอแม่มาบอกที่โรงพยาบาลว่า ได้ถวายสังฆทานให้เขาแล้ว เขาจึงจากไปได้

          ต้องดูทั้งคนไข้ และญาติ ว่ามีอะไรที่ยังไม่ได้สะสาง พยาบาลอาจจะช่วยในการเชื่อมระหว่างคนไข้และญาติ  ให้เกิดความเข้าใจกัน รับฟังกัน และได้รับการจัดการสิ่งที่ค้างคาใจ 

          ๒. น้อมนำจิตใจ เช่น นำสวดมนต์ หรือหาพระพุทธรูปมาให้เขาได้เห็น ทำให้คนไข้มีสิ่งที่ระลึก หรือทำการน้อมนำสวดมนต์ ทำสมาธิร่วมกัน โดยเราต้องทำด้วยกัน ไม่ใช่แค่เปิดเทป 

          กรณีคุณสุภาพร พงศ์พฤกษ์ เจ้าตัวไม่ต้องการรับการรักษา สิ่งที่เขาต้องการคือ การน้อมนำให้จิตใจไปอย่างสงบ เขาทำบ้านให้น่าตาย ไม่ใช่แค่น่าอยู่ เขาวางกระทั่งการกรองเพื่อนที่จะมาเยี่ยม เช่น ไม่ใช่คนที่มาร้องไห้ ทำให้เขาเสียใจ เขาต้องการสงบ เพื่อนจึงมาทำให้เกิดความสงบ มาพูดคุย หยอกล้อ นั่งสมาธิ สวดมนต์ด้วยกัน เขาพึ่งยาน้อยมาก แต่ใช้อานาปานสติ ตามลมหายใจ มีการตีระฆังเพื่อเตือนสติ เพราะเป็นความคุ้นเคยที่เขามีมาก่อน จากการที่เขาเริ่มไม่สามารถพูดได้ แต่เสียงระฆังจะช่วยเขาได้ 

          อีกรายหนึ่ง เป็นมะเร็ง แต่ช่วงสุดท้ายสามารถมีสติก่อนจากไป ประคองสติไปได้ตลอด พี่น้องที่อยู่ข้างเตียงช่วยนำทางให้ โดยการสวดมนต์ใน ๒ สัปดาห์สุดท้าย พูดให้นึกถึงพระรัตนตรัย ขอให้มั่นใจในพระคุณ ต่อมา ๒ วันสุดท้าย ให้เขาขออโหสิ ขอขมา ปลดเปลื้องสิ่งค้างคาใจ 

          สรุปคือ น้อมนำสู่สุคติ ขออโหสิกรรม และปลดเปลื้องสิ่งค้างคาใจ

          นอกจากนี้ ญาติควรย้ำว่า คนป่วยไม่ได้เป็นภาระ บอกว่าเขาเป็นประโยชน์ที่ทำให้เราได้เรียนรู้ เป็นโอกาสที่ได้ทำความดี เราเต็มใจที่จะมาเพื่อให้เขาสบายใจ

 ประโยคสุดท้าย หรือการกล่าวคำอำลา มีความสำคัญเช่นกัน คือ 

          ๑. แสดงความซาบซึ้ง ความดีของเขาที่ช่วยสร้างครอบครัว ดูแลลูกหลาน ให้เขาภูมิใจในตัวเอง ยกความดีของเขาขึ้นมา 

          ๒. ขอขมาต่อเขา รวมทั้งให้อโหสิกรรม 

          ๓. พูดถึงธรรม ปล่อยวาง ความยึดมั่นตัวตน ให้เขาอย่าห่วงอะไรที่ทำให้มีตัวตน

คอลัมน์: