Error message

  • Deprecated function: Methods with the same name as their class will not be constructors in a future version of PHP; views_display has a deprecated constructor in require_once() (line 3066 of /home/budnetorg/domains/budnet.org/public_html/sunset/includes/bootstrap.inc).
  • Deprecated function: The each() function is deprecated. This message will be suppressed on further calls in menu_set_active_trail() (line 2385 of /home/budnetorg/domains/budnet.org/public_html/sunset/includes/menu.inc).

ลดความปวดด้วยพลังความคิด

-A +A

          ความปวดเป็นปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งของคนที่เจ็บป่วย การที่เราหาหนทางต่างๆ นานา ในการรักษาบำบัดความเจ็บป่วย ส่วนหนึ่งเพราะไม่สามารถทนต่อความเจ็บปวดที่เกิดจากโรคภัยไข้เจ็บได้ ความพยายามในการบำบัดความเจ็บปวด ได้ทำให้มียาระงับปวด และผลิตภัณฑ์ในการระงับความเจ็บปวดต่างๆ ขึ้นมามากมาย แต่บรรดาเวชภัณฑ์เหล่านั้น หากเป็นชนิดที่มีประสิทธิภาพสูง ย่อมมีราคาสูงตาม อีกทั้งยังมีผลข้างเคียงไม่น้อยไปกว่าประสิทธิภาพ จึงมีการพยายามหาทางอื่นๆ ในการบำบัดความเจ็บปวด เช่น การนวดเพื่อลดความปวด หรือการทำสมาธิระงับปวด ฯลฯ เป็นทางเลือกอื่นในการลดความเจ็บปวด วิธีการที่ไม่ได้พึ่งพิงยาหรือสารเคมีนี้ แม้จะฟังดูไม่น่าเชื่อถือสำหรับคนที่ไม่ศรัทธา แต่มีการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ที่ชี้ให้เห็นความสัมพันธ์กันของร่างกาย และจิตใจในการระงับความเจ็บปวดโดยไม่ใช้ยา

          นักวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดในสหรัฐอเมริกา ได้ทำการทดลองค้นหาวิธีการลดความเจ็บปวด โดยเชื่อว่าความปวดเป็นเรื่องของจิตใจไม่น้อยไปกว่าทางกาย โดยรับอาสาสมัครมา ๓๖ คน แล้วใช้เครื่องมือสร้างความร้อนไปที่ฝ่ามือของอาสาสมัคร ในระดับที่ทำให้กลุ่มอาสาสมัครรู้สึกเจ็บปวดได้ จากนั้นแยกอาสาสมัครออกมา ๘ คน และสอนกลวิธีในด้านจิตใจที่จะฝึกให้สมองของพวกเขาตอบสนองต่อความเจ็บปวดในลักษณะต่างจากเดิม เช่น การนำความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นไปเชื่อมโยงกับประสบการณ์ชีวิตที่มีความสุขของตนเอง พร้อมทั้งนำบรรดาอาสาสมัครกลุ่มนี้ไปเข้าเครื่องสแกนสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ให้อาสาสมัครได้เห็นภาพสแกนสมองส่วนที่ควบคุมความเจ็บปวดของตนเองในขณะที่เกิดความเจ็บปวดขึ้น 

          ส่วนอาสาสมัครกลุ่มอื่นจะได้รับการปฏิบัติต่างออกไป เช่น บางกลุ่มได้รับการสอนเทคนิคในเชิงพฤติกรรมเพื่อลดความเจ็บปวด บางกลุ่มก็ให้ดูอาสาสมัครกลุ่มอื่นจัดการกับความเจ็บปวดของตนเอง อีกกลุ่มนำไปเข้าเครื่องสแกนสมองเช่นกัน แต่ให้ดูสมองส่วนที่ไม่ได้ควบคุมความเจ็บปวด 

          ผลคืออาสาสมัครกลุ่มหลังไม่ได้เปลี่ยนแปลงการตอบสนองต่อความเจ็บปวด ต่างจากกลุ่มแรกที่สามารถลดทอนการตอบสนองด้านลบต่อความเจ็บปวดได้ 

          เป้าหมายของการทดลองคือ ให้อาสาสมัครพยายามทำให้สมองเกิดการหน่วงเวลา สำหรับการตอบสนองต่อความเจ็บปวด ด้วยการจินตนาการไปถึงเรื่องอื่น ซึ่งอาสาสมัครรายหนึ่งบอกว่าแม้ความเจ็บปวดจะไม่ได้หายไป แต่ก็ลดลงอย่างมาก 

          ดร. เบเวอรี่ คอลเล็ตเต ประธานสมาคมความปวดแห่งสหราชอาณาจักร ได้บอกว่าการทดลองนี้เป็นการบำบัดโดยใช้การรับรู้เป็นแกนหลัก เพื่อเปลี่ยนวิธีการที่คนเราคิดเกี่ยวกับความปวดของตัวเอง 

 

คิดด้านบวกลดปวด

          วิธีการใช้พลังความคิดมาระงับปวด นอกจากการย้ายความสนใจของเรา เพื่อลดความปวดในการทดลองข้างต้นแล้ว การคิดด้านบวกเป็นเครื่องมืออีกชิ้นหนึ่งเช่นกัน นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเวค ฟอเรสต์ ได้ทำการทดลองโดยนำอาสาสมัคร ๑๐ คน มาติดเครื่องสร้างความจำลองความร้อนที่ขา ก่อนจะนำทุกคนมาเข้าเครื่องสแกนสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อดูความเปลี่ยน แปลงที่เกิดขึ้นในสมอง โดยเครื่องจำลองความร้อนจะส่งสัญญาณความร้อนเทียม ที่ไม่ทำอันตรายแก่อาสาสมัครออกมาในระดับต่างๆ ตั้งแต่ระดับอ่อนที่สุด ระดับกลาง และระดับรุนแรง และให้อาสาสมัครทำใจให้ลดความปวดลง 

          ทั้งหมดบอกว่า ความเจ็บปวดลดลงเมื่อตั้งใจให้มันลดลง เพียงแค่ใช้ความตั้งใจที่จะลดความปวด เราจะสามารถลดความเจ็บปวดลงได้ ๒๘ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งอยู่ในระดับใกล้เคียงกับการใช้มอร์ฟีน และการสแกนสมองทำให้พบว่ามีสมองส่วนหนึ่งทำหน้าที่สัมพันธ์กัน เกี่ยวกับการตอบสนองต่อความเจ็บปวดโดยตรง 

          การทดลองทั้ง ๒ ประการ ได้เพิ่มน้ำหนักให้กับแนวคิดที่เชื่อว่า วิธีคิดของเรามีผลต่อความรู้สึกของเรา ความรู้ดังกล่าวสามารถนำไปเตรียมความพร้อมให้กับความเจ็บปวดที่เรารู้แน่ว่าจะเกิดขึ้น อย่างเช่น การไปหาหมอฟัน หรือการผ่าตัด 

          ดร.เบเวอรี่ คอลเล็ตเต ประธานสมาคมความปวดแห่งสหราชอาณาจักร ยังได้บอกอีกว่า บุคลากรส่วนใหญ่ที่ทำงานในคลีนิกบำบัดความปวด ได้ใช้เทคนิคของการบำบัดด้วยการรับรู้ เพื่อทำให้ผู้ป่วยสามารถจัดการกับความเจ็บปวดของตนเองได้ ดังนั้นผลการศึกษาทดลองข้างต้นนี้จะเป็นอีกหนทางหนึ่ง ที่ช่วยเสนอผลด้านบวกของเทคนิคทางจิตวิทยาเพื่อนำไปใช้กับการจัดการความปวดเรื้อรังได้ต่อไป 

---

*เก็บความจาก Brain scans help think away pain & Positive thinking a pain reliever: BBC News

คอลัมน์:

ผู้เขียน: