Error message

  • Deprecated function: Methods with the same name as their class will not be constructors in a future version of PHP; views_display has a deprecated constructor in require_once() (line 3066 of /home/budnetorg/domains/budnet.org/public_html/sunset/includes/bootstrap.inc).
  • Deprecated function: The each() function is deprecated. This message will be suppressed on further calls in menu_set_active_trail() (line 2385 of /home/budnetorg/domains/budnet.org/public_html/sunset/includes/menu.inc).

แอบฟังคนทำงานเคาะประตู ชวนเรียนรู้เรื่องความตาย

-A +A

         ในงานประชุมวิชาการเอเชียแปซิฟิกฮอสพิซและพาลลิเอทีฟแคร์ (APHC) ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ เมื่อวันที่ ๑๐-๑๓ ตุลาคมที่ผ่านมา ในวันสุดท้ายมีหัวข้อการประชุมหนึ่งที่น่าสนใจและพูดคุยกันสนุกมากคือ “การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะในงานดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง”

         ครับ นโยบายสาธารณะใดๆ ไม่ได้เกิดขึ้นมาลอยๆ ต้องมีผู้เคลื่อนไหวผลักดัน วิทยากรต่างประเทศทั้งสามคนต่างมาแลกเปลี่ยนกันว่า คนตัวเล็กๆ องค์กรเล็กๆ จะเคลื่อนไหวอย่างไรให้ความเชื่อใหม่ๆ ดังเช่นการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองกลายเป็นที่รู้จัก เป็นที่ต้องการ และกลายเป็นนโยบายสาธารณะในที่สุด 

         

         งานเสนอชิ้นแรกเป็นของคุณลินนา ชานดรา เธอนำเสนอวิธีการระดมทรัพยากร การสนับสนุนเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดนโยบายการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายให้เกิดขึ้นในอินโดนีเซีย เธอสะท้อนว่าการระดมทรัพยากร และการสนับสนุนปัจจัยในการทำงานจากภาคส่วนต่างๆ มักเป็นแบบ “เด็กเอาแต่ใจ” คือ ร้องขอ เมื่อไม่ได้ก็อาการน้อยใจ ท้อแท้ เธอบอกว่านั่นไม่ใช่วิธีการที่ฉลาดเลย

         ลองมองกลุ่มเป้าหมายที่อาจเป็นผู้สนับสนุนองค์กรของเราว่าเพื่อนร่วมทางเดิน” เขาเหล่านั้นต้องยินดีสนับสนุนเราเป็นแน่ ถ้าเรามีความชัดเจนว่าเราคือใคร มีความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะสร้างสรรค์สิ่งใดให้เกิดขึ้นในสังคม ผู้ถือทรัพยากรเหล่านั้นหยั่งรู้ได้ว่าเราเอาจริงเอาจังและซื่อตรงต่อสิ่งที่จะขับเคลื่อนมากน้อยเพียงใด หน้าที่ขององค์กรขับเคลื่อนคือต้องเปิดพื้นที่ และ “เชิญชวน” ให้เขาเหล่านั้นมาเป็นส่วนหนึ่งของเรา ร่วมเดินทางและต่อสู้ไปกับเรา เพราะเขาก็ต้องการสิ่งนั้นเหมือนกัน 

         “ใครจะไม่อยากได้ตั๋วแถวหน้าชมสิ่งดีๆ ที่จะเกิดขึ้นในสังคมล่ะ” คุณลินนาให้กำลังใจทิ้งท้าย

         บทความที่สอง คุณเคท แจ็คสัน (Kate Jackson) แอดมินเว็บไซต์ ehospice มาบรรยายวิธีการขับเคลื่อนสังคมผ่านเว็บไซต์แลกเปลี่ยนประสบการณ์และการเคลื่อนไหวงานฮอสพิซและพาลลิเอทีฟแคร์ในทั่วทุกมุมโลก http://ehospice.com

         เธอให้แนวคิดว่า การใช้เครื่องมือไอทีในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอีกต่อไปแล้ว เพียงโน้ตบุ๊ก กล้องถ่ายภาพ และเครื่องอัดเสียงไม่กี่ตัว หากไปอยู่ถูกที่ถูกเวลา ก็อาจทำให้ผู้ดูแลเว็บไซต์ได้เห็นและแบ่งปันเรื่องเล่าที่ดีและทรงพลัง เรื่องเล่าบางเรื่องสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไม่น่าเชื่อ สำหรับเคทเธอเลือกที่จะสร้างการขับเคลื่อนในพื้นที่การประชาสัมพันธ์และใช้ข้อมูลความรู้ที่ทันท่วงที เชื่อหรือไม่ว่าในเว็บไซต์ ehospice.com มีเรื่องเล่าใหม่ๆ ทุกสัปดาห์โดยใช้ทีมงานเพียง ๔-๕ คน

         “คุณอายุก็ยังน้อย ทำไมถึงมาสนใจเรื่องเจ็บป่วยระยะท้ายล่ะคะ อะไรคือแรงบันดาลใจของคุณ?” ผู้เข้าร่วมฟังการบรรยายคนหนึ่งถาม 

         “แม่ของดิฉันเป็นพยาบาลดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในอาฟฟริกาใต้ค่ะ” เคทตอบ คนในห้องหายสงสัยในฉับพลัน เข้าใจแล้วกับคำโปรยของเธอที่อยู่หน้าแรกของสไลด์ที่กล่าวว่า “ประสบการณ์ส่วนตัวนั่นแหละ คือแรงขับเคลื่อนที่ทรงพลัง” 

         บทความสุดท้าย คุณจาฟฟา ชาง (Jaffa Chang) หนึ่งในทีมงานมูลนิธิฮอสพิซแห่งไต้หวัน เล่าถึงประสบการณ์ในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ “ปฏิบัติการการตายตามธรรมชาติ” (National death act) ที่ใช้เครื่องมือทั้งทางกฎหมาย ระบบสุขภาพ และระบบสังคมให้เอื้อต่อการตายอย่างสงบสำหรับชาวไต้หวัน 

         มูลนิธิมีฝ่ายงานสนับสนุนและขับเคลื่อนนโยบายพาลลิเอทีฟแคร์อย่างจริงจัง อีกทั้งยังมีเครื่องมือที่หลากหลายเพื่อกระตุ้นให้คนในสังคมตระหนักที่จะเรียนรู้เรื่องการตายดีอย่างกว้างขวาง เช่น การทำสื่อรณรงค์ในช่องทางต่างๆ จัดแคมเปญปั่นจักรยานเยี่ยมฮอสพิซทั่วเกาะไต้หวัน มีงานอีเวนท์ประจำปี สร้างสรรค์ชั้นเรียนเรื่องความตายสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ ทำพินัยกรรมชีวิตฉบับสมาร์ตการ์ด รวมถึงการใช้สังคมออนไลน์ในการสื่อสารแนวคิด เครื่องมือเหล่านี้ถูกสร้างสรรค์ สื่อสาร อย่างร้อยเรียงเป็นระบบ แต่ละปี มูลนิธิจะมีธีมการรณรงค์ในประเด็นย่อยๆ ต่างๆ และพูดถึงอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี เป็นเวลาติดต่อกันตลอดทศวรรษ

         คุณจาฟฟาเน้นย้ำว่า “การรู้จักกลุ่มเป้าหมาย” เป็นกุญแจแห่งความสำเร็จ องค์กรขับเคลื่อนควรที่จะจัดการเรียนรู้ในสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายอยากรู้และต้องการ มิใช่สิ่งที่องค์กรอยากบอก เธอเสนอว่าสำหรับการสร้างความตระหนักเรื่องการเตรียมตัวตายแล้ว น่าจะเริ่มจากกลุ่มที่สื่อสารได้ง่ายไปหายาก เช่น ผู้สูงอายุในสถาบันการศึกษา สถาบันดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ผู้ป่วย สมาชิกวัด ฯลฯ แล้วค่อยเริ่มสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายที่ยาก เช่น คนที่ยังมีสุขภาพดี คนหนุ่มสาว กิจกรรมที่องค์กรสร้างสรรค์ต้องทำให้น่าสนใจ ตรงใจกลุ่มเป้าหมาย จาฟฟาบอกเคล็ดลับว่า “เพียงเขามาร่วมงานกับเราครั้งเดียวก็ถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว”

         ผมเดินจากห้องบรรยายอย่างเปี่ยมความหวัง แน่นอนว่าประสบการณ์ดังกล่าวไม่ใช่ทั้งหมดของวิธีการทำงานขับเคลื่อนสังคมเรื่องการเผชิญความตายอย่างสงบ แต่ก็ให้แรงบันดาลใจ แม้จะยาก แต่เป็นไปได้ และผลจากการทำงานนั้นคุ้มค่า เพราะหมายถึงใครอีกหลายคนจะมีโอกาสเข้าถึงการตายอย่างสงบ อันเป็นสุขภาวะที่มนุษย์มีสิทธิเข้าถึง

คอลัมน์:

ผู้เขียน: