Error message

  • Deprecated function: Methods with the same name as their class will not be constructors in a future version of PHP; views_display has a deprecated constructor in require_once() (line 3066 of /home/budnetorg/domains/budnet.org/public_html/sunset/includes/bootstrap.inc).
  • Deprecated function: The each() function is deprecated. This message will be suppressed on further calls in menu_set_active_trail() (line 2385 of /home/budnetorg/domains/budnet.org/public_html/sunset/includes/menu.inc).

ตายที่บ้าน “ดีกว่า” แต่คนส่วนใหญ่กลัวที่จะพูดถึง

-A +A

           พวกเรารู้ว่า การพูดคุยเรื่องความตายเป็นเรื่องยาก งานวิจัยใหม่ในวารสารความปวดและการจัดการความปวด แสดงให้เห็นว่าทำไมพวกเราควรจะทำให้ดีกว่าเดิม

           การศึกษาทำขึ้นโดยนักวิจัยขอให้ผู้ดูแลของผู้ป่วย ๔๐๒ คนที่เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๔๘ และ ๒๕๕๓ ในเมืองโตรอนโต แคนาดา ตอบแบบสอบถามคุณภาพของการตายและความตาย (Quality of Dying and Death: QODD) เพื่อประเมินสิ่งที่นักวิจัยเรียกว่า “คุณภาพของความตาย” คือการทำให้ผู้ตายสุขสบายขึ้น เป็นอิสระจากอาการปวดหรือเรื่องที่คล้ายๆ กัน 

           โดยรวมแล้ว บรรดาผู้ดูแลให้คะแนนคุณภาพการตายของกลุ่มคนที่เขาดูแลค่อนข้างสูง คือ ร้อยละ ๓๙ ตอบว่าอยู่ในขั้น “ดี” ถึง “เกือบจะสมบูรณ์แบบ” ในขณะที่ร้อยละ ๖๑ อยู่ในขั้น “ไม่ดีไม่เลว” แต่เรื่องนี้ไม่ได้บอกอะไรเรามากนัก เนื่องจากสิ่งที่นักวิจัยชี้ให้เห็นคือ ตัวอย่างในการศึกษาดังกล่าวเป็นผู้ป่วยที่มีฐานะดีจากเมือง (และประเทศ) ที่ร่ำรวยและมีระบบการดูแลสุขภาพที่ดีมาก

           หากสิ่งที่การศึกษาชิ้นนี้บอกแก่เราคือ อัตราผู้ป่วยที่ไม่ได้ตายที่บ้าน

           แม้ขอบเขตการศึกษาวิจัยจะอยู่ในบริเวณเขตเมืองโตรอนโต ซึ่งมีหลักประกันสุขภาพสำหรับการดูแลแบบประคับประคองที่บ้าน แต่การศึกษาพบว่า ประมาณหนึ่งในสามของผู้ป่วยมะเร็งเท่านั้นที่ตายที่บ้าน ในขณะที่ร้อยละ ๔๐ ตายในสถานดูแลผู้ป่วยระยะท้ายหรือหน่วยดูแลแบบประคับประคอง และร้อยละ ๒๘ ตายในหน่วยดูแลผู้ป่วยวิกฤตในโรงพยาบาล  แม้แต่ผู้ป่วยที่ได้รับการติดตามดูแลจากหน่วยดูแลแบบประคับประคองที่บ้าน ยังมีเพียงร้อยละ ๕๔ ที่เสียชีวิตที่บ้าน 

           ผลการศึกษาชิ้นนี้แสดงให้เห็นว่า โดยรวมแล้ว การตายที่บ้านสัมพันธ์กับคุณภาพของการตายที่ดีกว่า รวมถึงการดูแลอาการและการเตรียมตัวตายที่มีคุณภาพดีกว่าการตายนอกบ้าน ส่วนการตายในโรงพยาบาลและในสถานดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายหรือหน่วยดูแลแบบประคับประคองไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 

           แม้การดูแลแบบประคับประคองที่บ้านจะทำได้ง่าย มีสิ่งแวดล้อมที่เรียกได้ว่าเป็น “อุดมคติ” คือเพียบพร้อมด้วยเงินอุดหนุนและการเข้าถึงได้ง่าย จะช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งมีโอกาสตายในสถานที่ที่พวกเขาปรารถนา แต่การดูแลอาการที่ยุ่งยากและการขาดการวางแผนดูแลรักษาตนเองล่วงหน้า อาจจะทำให้คนเป็นจำนวนมากยังต้องไปตายในโรงพยาบาลหรือสถาบันทางการแพทย์ต่อไป

           ผลจากการศึกษาไม่ใช่การชี้ว่า การตายในโรงพยาบาลจำเป็นต้องทนทุกข์ทรมานแต่อย่างใด เพียงแต่มีข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่า ทั้งๆ ที่ผู้ป่วยสามารถจะตายที่บ้านได้ อันจะทำให้ตัวผู้ป่วยและครอบครัวมีความสุขสบายกว่า แต่ก็ยังไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ 

           ทำไมน่ะหรือ? ซาร่าห์ เฮลส์ ผู้เขียนรายงานการศึกษากล่าวว่าในอีเมลฉบับหนึ่งว่า "ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการขาดการวางแผนการดูแลรักษาตนเองล่วงหน้า (การพูดคุยในเรื่องดังกล่าวกับผู้ป่วยล่วงหน้ายังทำได้ไม่ดี) และยังเป็นเพราะการเสียชีวิตที่บ้านต้องใช้ทรัพยากร ความตั้งใจ ศักยภาพ และความพร้อมของครอบครัวอย่างมาก รวมถึงการควบคุมอาการของโรค หลายคนวางแผนจะตายที่บ้าน แต่กลับต้องไปลงเอยตายในโรงพยาบาลเนื่องจากความยุ่งยากในการควบคุมอาการ (อาการปวด ความสับสน ฯลฯ )"

           แน่นอนว่า เรื่องบางอย่างย่อมอยู่นอกเหนือการควบคุมของใครคนใดคนหนึ่ง แต่บางเรื่องจะนำไปสู่คำถามยากๆ ที่แสนเจ็บปวดว่า ครอบครัวจะมาร่วมกันตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งเมื่อสมาชิกของครอบครัวกำลังจะตายที่บ้าน “เมื่อใด” และ “อย่างไร” (สมมุติว่าครอบครัวมีทรัพยากรเพียงพอที่จะตัดสินใจเลือกตายที่บ้านได้ ในขณะที่หลายคนทำไม่ได้) เป็นธรรมดาว่า เรื่องดังกล่าวไม่ใช่สิ่งที่ทุกคนจะทำได้ดีกันหมด ซึ่งเป็นเหตุผลที่เข้าใจกันได้ แต่การศึกษาเหมือนอย่างรายงานชิ้นนี้ เน้นให้เห็นว่า การเผชิญหน้ากับความจริงของวาระสุดท้ายชีวิตอย่างตรงไปตรงมาและเป็นจริงเท่าที่จะเป็นไปได้มีความสำคัญอย่างไร

 

แปลและเรียบเรียงจาก 
“It’s Better to Die at Home, But Many People Are Scared to Talk About It”
โดย Jesse Singal, www.nymag.com

 

คอลัมน์:

ผู้เขียน: