Error message

  • Deprecated function: Methods with the same name as their class will not be constructors in a future version of PHP; views_display has a deprecated constructor in require_once() (line 3066 of /home/budnetorg/domains/budnet.org/public_html/sunset/includes/bootstrap.inc).
  • Deprecated function: The each() function is deprecated. This message will be suppressed on further calls in menu_set_active_trail() (line 2385 of /home/budnetorg/domains/budnet.org/public_html/sunset/includes/menu.inc).

ตามไปดู Siriraj Palliative Care Day 2010

-A +A

          Siriraj Palliative Care Day เริ่มจัดขึ้นตั้งแต่ปี ๒๕๕๐  โดยคณะกรรมการดำเนินงาน Palliative Care คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการจัดงาน World Hospice and Palliative care Day ซึ่งจัดพร้อมกันทั่วโลกในสัปดาห์ที่ ๒ ของเดือนตุลาคมเป็นประจำทุกปี  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์และสื่อสารให้ประชาคมศิริราชและสังคมเกิดความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของ Palliative Care ที่มีต่อผู้ป่วยและครอบครัว และกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยของสหสาขาวิชาชีพ 

          ใน ๒ ปี แรกเป็นการจัดงานในวันศุกร์ที่ ๒ ของเดือนตุลาคม เพียงวันเดียว ในปี ๒๕๕๒ ซึ่งเป็นการจัดงานครั้งที่ ๓ ได้เริ่มจัดงานเป็น ๓ วัน โดยวันแรกมีปาฐกถาเกียรติยศ สุมาลี นิมมานนิตย์ เพื่อเป็นเกียรติแก่ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงสุมาลี นิมมานนิตย์ ผู้บุกเบิกงานด้านพาลลิเอทีฟแคร์ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

          งาน Siriraj Palliative Care Day ครั้งที่ ๔ จัดขึ้นในวันที่ ๖ – ๘ ตุลาคม ๒๕๕๓ ณ ห้องประชุมอาทิตยาทรกิติคุณ ตึกสยามินทร์ ชั้น ๗ โรงพยาบาลศิริราช โดยเริ่มด้วยการแสดงปาฐกถาเรื่อง “การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วยวิถีพุทธ” โดยพระไพศาล วิสาโล เจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต จ.ชัยภูมิ ในช่วงบ่ายของวันที่ ๖ ตุลาคม

          ส่วนวันที่ ๗ – ๘ ตุลาคม ๒๕๕๓ จะมีการเสวนาตลอดวัน ได้แก่ “Palliative care: Sharing the care” “ปวดกาย ไม่ปวดใจ” “Ethical and legal issues in palliative care” และ “จิตสดใสแม้กายป่วย” “The Last Goodbye: มุมมองจากต่างศาสนา” “การดูแลผู้ป่วยแบบ Palliative Care” หรือการแบ่งปันประสบการณ์การทำงานที่เกิดขึ้นทั้งจากการรักษา และการดูแลผู้ป่วยที่ไม่ได้มุ่งเน้นมิติทางกายเพียงอย่างเดียว แต่นำเสนอรูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่เน้นการดูแลทางจิตใจควบคู่กันไปด้วย 

          ความน่าสนใจของการเสวนาต่างๆ ดังกล่าว ไม่ได้อยู่ที่รูปแบบการนำเสนอในเชิงวิชาการ หรือในทางทฤษฎีเท่านั้น แต่คือการนำเสนอสิ่งที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์จริงในการทำงาน ว่าการดูแลผู้ป่วยแบบเน้นการดูแลทางจิตใจเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถทำได้ ไม่ใช่การเพิ่มงานเป็นอีกหนึ่งอย่างตามที่หลายคนเข้าใจ แต่สามารถให้เป็นเนื้อเดียวกับการทำงานที่ตัวเองรับผิดชอบได้ 

          สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่ง คือ ไม่เพียงแต่นำเสนอในด้านที่ประสบความสำเร็จเท่านั้น หากยังรวมถึงด้านที่เป็นอุปสรรคในการทำงานด้วย ทำให้ผู้เข้าร่วมการเสวนาเห็นทั้งแง่มุมอย่างรอบด้าน ไม่หวังผลสำเร็จเกินความเป็นจริง และไม่ท้อจนหมดกำลังใจ 

          รวมถึงการเชิญผู้มีประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ ที่เรียนรู้จากสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเอง ทั้งด้านดีและอุปสรรค จนสรุปเป็นบทเรียนมานำเสนอให้ผู้อื่นเห็น เช่น การให้คำแนะนำในกรณีที่ผู้ป่วยเกิดอาการแพ้ หรือการทำแผ่นพับแนะนำความรู้ในการดูแลสุขภาพ และข้อมูลหน่วยงานที่จะสามารถให้ความรู้เพิ่มเติมกรณีที่ผู้ป่วยเกิดปัญหา หรือมีข้อสงสัยในการรักษาพยาบาล ฯลฯ 

          แม้กระทั่งในรายการที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย จะรูปแบบในการนำเสนอที่ทำให้ผู้เข้าร่วมได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ด้วยวิธีการตั้งคำถาม และให้ผู้เข้าร่วมทุกคนได้มีโอกาสลงคะแนน คำตอบที่ได้ไม่ใช่การบอกว่าข้อไหนถูก หรือข้อไหนผิด แต่ทำให้เห็นว่าแม้ในเรื่องเดียวกัน ก็ยังสามารถมีความแตกต่างกันได้ ขึ้นอยู่กับว่าเรามองจากมุมไหน  การอธิบายโดยใช้คำง่าย ๆ ที่ทำให้เราสามารถเข้าใจได้  โดยการยกกรณีตัวอย่างประกอบ เช่น ในการอธิบายเรื่องผู้ป่วยเป็นเอชไอวี แต่ไม่ต้องการให้บอกกับคู่ครองของตน ถ้าเราบอกจะมีความผิดหรือไม่ วิทยากรได้อธิบายด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ๆ ว่า “นักกฎหมาย บุคลากรสาธารณสุข นักบัญชี พระ เป็นบุคคลที่ต้องเก็บเป็นความลับ และกรณีนี้ถ้าไม่ผิดจะต้องมีเหตุผลที่เหนือกว่า เช่น จะมีอันตรายที่เกิดขึ้นกับคู่ครองของตนถ้ายังมีเพศสัมพันธ์กันอยู่ โดยที่อีกฝ่ายไม่รู้ และอาจทำให้อีกฝ่ายป่วย และเสียชีวิตด้วยโรคนี้ได้ แต่การบอกจะต้องมีกระบวนการการให้คำปรึกษาก่อน และอาจจะมีการทำบันทึกข้อตกลงก่อนตั้งแต่กระบวนการตรวจ ว่าถ้าเป็นจะให้บอกกับใคร และควรมีการทำประเมินหลังการบอกข่าวด้วย”

          นอกเหนือจากที่ได้กล่าวมาแล้ว เนื้อหาการเสวนายังมีประเด็นน่าสนใจอีกมากมาย ไม่ว่าจะการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในทัศนะของศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม หรือกระบวนการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ที่ทำให้มองเห็นความเป็นมนุษย์ของผู้ป่วย และตระหนักถึงภารกิจของการเป็นแพทย์อย่างแท้จริง โดยนายแพทย์สกล สิงหะ ซึ่งทางผู้จัดงานกล่าวว่า จะทยอยนำลงเผยแพร่ในวารสารของศิริราชต่อไป

          Siriraj Palliative Care Day จึงนับเป็นความพยายามสำคัญอีกก้าวหนึ่งของการสถาปนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายให้เป็นที่ยอมรับและเข้าไปสู่ความรับรู้ของสังคมไทยอย่างจริงจังต่อไป

 

คอลัมน์:

ผู้เขียน: