Error message

  • Deprecated function: Methods with the same name as their class will not be constructors in a future version of PHP; views_display has a deprecated constructor in require_once() (line 3062 of /home/budnetorg/domains/budnet.org/public_html/boonvolunteer/includes/bootstrap.inc).
  • Deprecated function: Methods with the same name as their class will not be constructors in a future version of PHP; views_many_to_one_helper has a deprecated constructor in require_once() (line 113 of /home/budnetorg/domains/budnet.org/public_html/boonvolunteer/sites/all/modules/ctools/ctools.module).
  • Deprecated function: The each() function is deprecated. This message will be suppressed on further calls in menu_set_active_trail() (line 2375 of /home/budnetorg/domains/budnet.org/public_html/boonvolunteer/includes/menu.inc).

ชวนไทยวน รักษ์ถิ่น

โดย กลุ่มทำดีมะ

เชิญชวนเพื่อนๆไปช่วยกันโหมให้ “ไทยวน” (อ่านว่า ไท-ยวน) รุ่นใหม่ มีกำลังใจในการสืบสานวิถีไทยวนเกิดขึ้นมา และคงอยู่ต่อไปอย่างยั่งยืน โดยใช้กิจกรรมการลงแรงทำความสะอาด หอวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยวนร่วมกับกลุ่มชาวบ้านไทยวนเป็นสื่อในการทำกระบวนการ มาทำดี ช่วยคนคนทำดีได้ มีกำลังใจทำดีต่อไป

วันที่ 17-18 พฤษภาคม 2556  ณ หอวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยวน อ.เสาไห้ จ.สระบุรี

ชื่อกิจกรรม

ชวนไทยวน รักษ์ถิ่น 

ผู้จัดกิจกรรม

ทำดีมะ

 

วัน

 

18-19 พฤษภาคม 2556

สถานที่

หอวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยวน อ.เสาไห้ จ.สระบุรี

 

จำนวนที่รับ

20 คน

 

ค่าใช้จ่าย

ผู้เข้าร่วมไม่เสียค่าใช้จ่าย

ความเป็นมา

 

 

กลุ่มทำดีมะ ตามรอย ไทยวน (อ่านว่า ไท-ยวน) สระบุรี ไปที่อำเภอเสาไห้ และได้พบปะพูดคุยกับอาจารย์ทรงชัย วรรณกุล ผู้สืบสานวัฒนธรรมและประเพณีพื้นบ้านไทยวน โดยก่อตั้งหอวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยวนขึ้น จากแนวความคิด 3 ส. คือ ส. แรก - สืบสาวเรื่องราวความเป็นมา ส. ที่สอง - สานต่อวัฒนธรรมให้คงไว้ และ ส. ที่สาม – เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีในชุมชนไทยวนด้วยกัน ขึ้นมาในราวปี พ.ศ. 2536 โดยมีกลุ่มชาวไทยวนในละแวกใกล้เคียงรวมตัวกันจัดตั้งเป็นชมรมขึ้นมาและให้อาจารย์ทรงชัยเป็นประธานชมรม บทบาทสำคัญของ หอวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยวน สระบุรี” คือการศึกษาประวัติความเป็นมาของไทยวน สระบุรี ใช้เป็นสถานที่ศึกษาแลกเปลี่ยน และรวบรวมวัฒนธรรมท้องถิ่นของชาวไทยวน รวมถึงเผยแพร่ให้กับคนทั่วไปได้รู้จัก

วิถีไทยวน สระบุรี หายไปกับค่านิยมสมัยใหม่ ขนบธรรมเนียม ประเพณีที่ดีงามกำลังจะหมดไปกับปู่ย่าตายายที่เหลือเพียงไม่กี่คน  20 ปีที่ผ่านมาจนถึงวันนี้ สิ่งที่อาจารย์ทรงชัยได้พยายาม สืบค้น และจุดประกายชาวไทยวนให้ฟื้นวิถีที่งดงามขึ้นมา เริ่มอ่อนแรงด้วยหลากหลายปัจจัยแวดล้อม

ศูนย์วัฒนธรรมไทยวนวันนี้ ยังคงมีสภาพบ้านเรือนไท ยวนในแบบเก่าให้เราได้ศึกษาและสัมผัสได้ถึงความเป็นอยู่ในสมัยก่อนมาของชาวบ้านตามลุ่มแม่น้ำป่าสักที่เราควรช่วยกันดูแล ความเป็นไทยวนที่ยังหลงเหลืออยู่ให้เราศึกษาและเชิญชวนให้เด็กยุคใหม่ได้สานต่อ ยังมีให้เห็นอยู่ ได้แก่ ภาษาไทยวน ผ้าทอไทยวน อาหารพื้นเมือง การทำตุง การแทง เป็นต้นซึ่งปัจจุบันเป็นที่รู้จักจำนวนน้อยรวมทั้งยังไม่เห็นค่าของสิ่งเหล่านี้อีกด้วย

กลุ่มทำดีมะ เชิญชวนเพื่อนๆไปเที่ยวบ้านไท-ยวน สระบุรี และช่วยกัน ฟื้นฟูศูนย์วัฒนธรรมไทยวน เพื่อให้เยาวชนคนรุ่นใหม่และผู้ที่สนใจในชุมชน มาร่วมเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน ทั้งเรื่องของบ้านเรือน ความเป็นอยู่ วัฒนธรรมของพื้นถิ่น ผ่านคนรุ่นเก่า ให้เราเห็นรากเหง้าของพื้นถิ่นไทยวน สระบุรี และเล็งเห็นรากเหง้าของตนเอง มาร่วมเป็นกำลังใจสืบสานวิถีไทยวนให้คงอยู่ต่อไปอย่างยั่งยืนโดยใช้กิจกรรมการลงแรงทำความสะอาด หอวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยวน ร่วมกับกลุ่มชาวบ้านไทยวน เป็นสื่อในการทำกระบวนการ มาทำดี ช่วยคนคนทำดีได้ มีกำลังใจทำดีต่อไปกัน

 

 

วัตถุประสงค์

  1. ชวนทำดี พร้อมกับรู้จักความเป็นมา และวัฒนธรรมชาวไทยวน
  2. ชวนชาวไทยวน ให้เกิดสำนึกรัก(ษ์) วิถีไทยวน
  3. สร้างกลุ่มไทยวน รักษ์ถิ่น


กำหนดการ

 

วันที่ 18 พฤษภาคม 2556

 

8.00-8.30      

 

พร้อมกันที่จุดนัดพบ ลงทะเบียน รับสูจิบัตรแนะนำประวัติ ไทยวนสระบุรี

 

8.30-10.00    

 

ออกเดินทางสู่ หอวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยวน บ้านต้นตาล อ.เสาไห้ จ.สระบุรี

 

10.00-10.30   

 

ถึง หอวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยวน

 

-  พูดคุย แนะนำโครงการ

 

-  เจ้าบ้าน (อ.ทรงชัย) ต้อนรับ

 

10.30-11.30   

 

- กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ และละลายพฤติกรรม ระหว่างจิตอาสาและชาวบ้านไทยวน

 

- รู้จักของดีไทยวน

 

11.30-12.00   

 

ชมหอวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยวน

 

12.00-13.00   

 

รับประทานอาหารกลางวัน

 

13.00-15.00

 

- ลงแรง ช่วยกันทำความสะอาดหอวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยวน ทำป้ายเพิ่มให้ความรู้ภายในศูนย์วัฒนธรรม

 

- บริการเครื่องดื่มสมุนไพร

 

15.00-16.00   

 

แลกเปลี่ยน ถอดบทเรียน

 

16.30 -17.30  

 

- เข้าที่พัก เดินชม ศึกษาผ้าทอ และการแต่งกาย ณ ศูนย์ทอผ้า

 

-  กิจกรรมมาเป็นลูกหลานไท-ยวนกันเถอะ

 

17.30-18.30   

 

แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องวัฒนธรรม ในผ้าทอ

 

18.30-19.30   

 

รับประทานอาหารเย็น

 

19.30-21.00   

 

แลกเปลี่ยน ถอดบทเรียน

 

21.00 -21.30  

 

พักผ่อน

 

 

 

วันที่ 19 พฤษภาคม 2556

 

7.30-8.30      

 

รับประทานอาหารเช้า

 

8.30-10.00    

 

กิจกรรมปั้นจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย โดยกลุ่มเยาวชนรักษ์ป่าสัก

 

10.30-11.00   

 

ล่องเรือชมวิถีริมน้ำ และโยนลูกจุลินทรีย์สู่ลำน้ำป่าสัก

 

11.00-13.00   

 

- ชมตลาดต้าน้ำโบราณบ้านต้นตาล

 

รับประทานอาหารกลางวัน (จิตอาสาดูแลตัวเอง)          

 

13.00-14.30   

 

ออกเดินทางกลับกรุงเทพฯ

 

การเดินทาง 

รถตู้

ช่องทางการสมัคร

  1. เปิดรับสมัครผ่านระบบ “ธนาคารเวลา” (Time Bank) ในเว็บไซต์ธนาคารจิตอาสา
  2. ผู้สนใจที่ยังไม่เคยสมัครสมาชิก (เปิดบัญชีฝากเวลา) กับทางธนาคารจิตอาสา สามารถเข้าไปสมัครได้ที่ www.jitarsabank.com/user/signup
  3. สอบถาม / แจ้งปัญหาการใช้งาน “ระบบธนาคารเวลา” ได้ที่หน้าเว็บ www.jitarsabank.com/contactus

ขั้นตอนการสมัคร

  1. เข้าไปที่เว็บไซต์ธนาคารจิตอาสา  www.jitarsabank.com แล้วทำการ เข้าสู่ระบบ (Log In)
  2. คลิก “ค้นหาภารกิจจิตอาสา” ที่เมนูด้านซ้าย
  3. พิมพ์คำค้นหา (เช่น ชื่อภารกิจ, ชื่อองค์กร, ชื่อสถานที่) ในที่นี้อาจใช้คำค้นหา “ทำดีมะ
  4. จากนั้นจะปรากฏ “รายชื่อภารกิจ” ที่กำลังเปิดรับสมัคร
  5. คลิกเลือกงานอาสาที่ต้องการ
  6. กดปุ่ม “สมัครคลิกที่นี่”  (ปุ่มสีส้มบริเวณด้านล่างของหน้ารายละเอียดกิจกรรมนั้น)
  7. รอการตอบรับ  โดยระบบจะส่งข้อความตอบรับไปยัง อีเมล และ โทรศัพท์มือถือ ของท่าน 
  8. ตรวจสอบรายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้ที่หัวข้อ “ประกาศรายชื่ออาสา” ที่หน้ากิจกรรม

สอบถาม

เกี่ยวกับการสมัคร

ติดต่อ : โครงการฉลาดทำบุญ

โทรศัพท์ : 0-2882-4387, 0-2886-0863 ต่อ 21, 11

อีเมล : boonvolunteer@gmail.com

 

สอบถามเกี่ยวกับกิจกรรม / การเดินทาง

 

ติดต่อ : มณิสรา (ส้ม) 

โทรศัพท์ 08-8249-0988

อีเมล tumdima@gmail.com