Error message

  • Deprecated function: Methods with the same name as their class will not be constructors in a future version of PHP; views_display has a deprecated constructor in require_once() (line 3062 of /home/budnetorg/domains/budnet.org/public_html/boonvolunteer/includes/bootstrap.inc).
  • Deprecated function: Methods with the same name as their class will not be constructors in a future version of PHP; views_many_to_one_helper has a deprecated constructor in require_once() (line 113 of /home/budnetorg/domains/budnet.org/public_html/boonvolunteer/sites/all/modules/ctools/ctools.module).
  • Deprecated function: The each() function is deprecated. This message will be suppressed on further calls in menu_set_active_trail() (line 2375 of /home/budnetorg/domains/budnet.org/public_html/boonvolunteer/includes/menu.inc).

ICT เพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาล

โดย มูลนิธิกระจกเงา

แนวคิดของโรงพยาบาลมีสุข คือทำการปฏิบัติการ และพัฒนาวิธีคิด รูปแบบ กิจกรรมการเพิ่มความสุข ลดความทุกข์ ลดความตึงเครียดลงในสภาพแวดล้อมของโรงพยาบาล โดยจะมีปัจจัยภายนอกเข้ามาสนับสนุนคือ “อาสาสมัคร”

  • ทุกวันพุธ  เวลา 13.00-15.00 น.  ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี
  • ทุกวันพฤหัสบดี  เวลา 13.00-15.00 น.  ณ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก)

ชื่อกิจกรรม

ICT เพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาล

ผู้จัดกิจกรรม

มูลนิธิกระจกเงา

วัน / เวลา / สถานที่

  • ทุกวันพุธ  เวลา 13.00-15.00 น.  ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี
  • ทุกวันพฤหัสบดี  เวลา 13.00-15.00 น.  ณ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก)

 

แผนที่

โรงพยาบาลรามาธิบดี 

http://ramaclinic.ra.mahidol.ac.th/map/map.html

 

สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก)

http://www.childrenhospital.go.th/main2/map.html

 

จำนวนที่รับ

  • วันพุธ  5 คน
  • วันพฤหัสบดี 10 คน

รายละเอียด

กิจกรรม ICT เพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาล เป็นการนำอาสาสมัครเข้าไป เพิ่มความสุข ลดความทุกข์ โดยใช้  ICT เป็นเครื่องมือ ซึ่งประกอบด้วย

 

(1) กิจกรรม ICT เพื่อนันทนาการ(ใช้เป็นเครื่องมือในการเปิดสื่อมัลติมีเดีย) เช่น ดูการ์ตูน/หนัง, ฟังเพลง, เล่นเกมส์ เสริมพัฒนาการ และใช้ในงานศิลปะ ฯลฯ

 

(2) กิจกรรม ICT เพื่อการเรียน การสอน เช่น จัดกิจกรรม workshop เกี่ยวกับโปรแกรมขั้นพื้นฐาน, ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อเปิดสื่อมัลติมีเดียเรื่องการเรียนหนังสือ ตามวิชาพื้นฐาน อาทิ ภาษาไทย, คณิตศาสตร์, ใช้เป็นเครื่องมือในการทำแบบฝึกหัด และใช้งาน Internet เพื่อค้นหาข้อมูล ฯลฯ

 

บทบาทของอาสาสมัคร คือ การเป็นเพื่อนเล่น เพื่อพูดคุยกับเด็กป่วย รวมทั้งการเป็นพี่เลี้ยง  ผู้สมัครควรมีทักษะเบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โดยทางโครงการจะจัดเตรียมคอมพิวเตอร์ไว้ให้

 

แนวคิด

โครงการโรงพยาบาลมีสุข เกิดขึ้นด้วยเหตุผลและแรงบันดาลใจหลายประการ ทั้งสถานการณ์ความตึงเครียดในระบบการให้การรักษาในโรงพยาบาล ซึ่งได้รับผลกระทบจากปริมาณของคนไข้ที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจากนโยบายหลักประกันสุขภาพ ในขณะที่จำนวนแพทย์และบุคคลากรทางการแพทย์มีปริมาณลดน้อยลง(ออกนอกระบบ) 

 

จิตแพทย์ท่านหนึ่งซึ่งทำงานในโรงพยาบาลในชนบทแห่งหนึ่งบอกกับเราว่า เขามีเวลาให้กับการรักษาคนไข้ของเขาคนละ 3 นาที

ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดคำถามว่า สถานการณ์การรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลกำลังเข้าสู่สถานการณ์วิกฤติ หรือว่า เรากำลังอยู่ในสถานการณ์วิกฤติแล้ว

 

นอกจากประเด็นเรื่องความไม่สอดคล้องกันระหว่างปริมาณบุคลากรทางการแพทย์กับผู้ป่วยแล้ว ความคาดหวังของฝ่ายนโยบายที่ต้องการยกระดับมาตรฐานการให้บริการทางการแพทย์ไปสู่ "การบริการทางการแพทย์ด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์" ซึ่งแน่นอนว่าความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลบางแห่ง และนโยบายด้านคุณภาพการบริหารทางการแพทย์ ดูจะขัดแย้งกันในตัว แต่อย่างไรก็ตาม มีกุญแจอยู่ดอกหนึ่งที่มีผู้ไขปริศนาที่ยากลำบากนี้ได้แล้ว กุญแจดอกนั้นคือ "อาสาสมัคร"

 

อาสาสมัคร คือ ผู้ที่อาสาช่วยงาน เพื่อหาประสบการณ์ด้วยความรับผิดชอบสูงทุ่มเทเสียสละและอดทนปฏิบัติหน้าที่เต็มความสามารถ เต็มเวลา หรืออาจเกินเวลา โดยไม่หวังผลตอบแทนเป็นเงินหรือสิ่งอื่นใด การทำงานอาสาสมัครเป็นการยกระดับจิตใจช่วยให้ขัดเกลาตนเองโดยการออกจากตนเอง เพื่อคนอื่น เพื่อสังคม ก่อให้เกิดคนดี กิจกรรมดี สังคมดี

 

แนวคิดของโรงพยาบาลมีสุข คือทำการปฏิบัติการ และพัฒนาวิธีคิด รูปแบบ กิจกรรมการเพิ่มความสุขลดความทุกข์ลดความตึงเครียดลงในสภาพแวดล้อมของโรงพยาบาล โดยจะมีปัจจัยภายนอกเข้ามาสนับสนุนคือ อาสาสมัคร อาสาสมัครสร้างสุข

 

เป็นกลุ่มคนซึ่งมีจิตใจดีและอยากที่จะเห็นคนที่ต้องนอนพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลนั้นมีความสุขและลืมความเจ็บป่วยที่มีอยู่ไปได้เข้ามาสร้างความสุขให้กับผู้ป่วยที่ต้องทนทุกข์ทรมานกับโรคร้าย ที่พรากความสุขไปจากพวกเขา

อาสาสร้างสุข ไม่ได้เฉพาะเจาะจง เช่น เรื่องของเพศ เรื่องของภาษา เรื่องของการศึกษารวมไปถึงเรื่องอายุ กล่าวคือ ใคร ๆ ก็สามารถที่จะเป็นอาสาสร้างสุขได้ เพียงแต่การเป็นอาสาสร้างสุขนั้นต้องสามารถดูแลตัวเองได้ ไม่เป็นภาระให้กับผู้อื่นอาสาสมัคร = อาสาสร้างสุข ดังนั้น อาสาสร้างสุข = มีความมุ่งมั่นในสิ่งเดียวกันคือ การสร้างความสุข "ความสุขที่ได้ทำในสิ่งที่ดี รับในสิ่งที่ดี นี่คือ การดูแลกันและกันด้วยหัวใจ ความเป็นมนุษย์"

 

ช่องทางการสมัคร

 

 

  1. เปิดรับสมัครผ่านระบบ “ธนาคารเวลา” (Time Bank) ในเว็บไซต์ธนาคารจิตอาสา
  2. ผู้สนใจที่ยังไม่เคยสมัครสมาชิก (เปิดบัญชีฝากเวลา) กับทางธนาคารจิตอาสา สามารถเข้าไปสมัครได้ที่ www.jitarsabank.com/user/signup
  3. สอบถาม / แจ้งปัญหาการใช้งาน “ระบบธนาคารเวลา” ได้ที่หน้าเว็บ www.jitarsabank.com/contactus

 

ขั้นตอนการสมัคร

 

  1. เข้าไปที่เว็บไซต์ธนาคารจิตอาสา  www.jitarsabank.com แล้วทำการ เข้าสู่ระบบ (Log In)
  2. คลิก “ค้นหาภารกิจจิตอาสา” ที่เมนูด้านซ้าย
  3. พิมพ์คำค้นหา (เช่น ชื่อภารกิจ, ชื่อองค์กร, ชื่อสถานที่) ในที่นี้อาจใช้คำค้นหา มูลนิธิกระจกเงา
  4. จากนั้นจะปรากฏ “รายชื่อภารกิจ” ที่กำลังเปิดรับสมัคร
  5. คลิกเลือกงานอาสาที่ต้องการ
  6. กดปุ่ม “สมัครคลิกที่นี่”  (ปุ่มสีส้มบริเวณด้านล่างของหน้ารายละเอียดกิจกรรมนั้น)
  7. รอการตอบรับ  โดยระบบจะส่งข้อความตอบรับไปยัง อีเมล และ โทรศัพท์มือถือ ของท่าน 
  8. ตรวจสอบรายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้ที่หัวข้อ “ประกาศรายชื่ออาสา” ที่หน้ากิจกรรม

 

 

สอบถามเพิ่มเติม

 

ติดต่อ : มินนี่ 

โทรศัพท์ : 0-2973-2236-7 ต่อ 103 หรือ 08-0637-4751