Error message

  • Deprecated function: Methods with the same name as their class will not be constructors in a future version of PHP; views_display has a deprecated constructor in require_once() (line 3062 of /home/budnetorg/domains/budnet.org/public_html/boonvolunteer/includes/bootstrap.inc).
  • Deprecated function: Methods with the same name as their class will not be constructors in a future version of PHP; views_many_to_one_helper has a deprecated constructor in require_once() (line 113 of /home/budnetorg/domains/budnet.org/public_html/boonvolunteer/sites/all/modules/ctools/ctools.module).

ธรรมะ

จะถวาย “ถังเหลือง” หรือไม่ก็ตาม
หากถวายแก่สงฆ์ หรือมีพระรูปใดรูปหนึ่งรับในนามของสงฆ์ ก็ถือว่าเป็นสังฆทานทั้งสิ้น
เมื่อถวายแล้วก็ขอให้เกิดความปีติอิ่มเอิบใจในบุญที่ได้ทำ

- พระไพศาล วิสาโล

( www.visalo.org )

ถ้าเราเข้าใจความหมายที่แท้ของสังฆทาน เราจะไม่มุ่งทำบุญถวายทานแก่เจ้าอาวาส พระเกจิอาจารย์ หรือพระอริยบุคคลเพียงรูปใดรูปหนึ่งเท่านั้น แต่ยังจะให้ความสำคัญกับการอุปถัมภ์พระสงฆ์ในวัด ซึ่งเท่ากับเป็นการสร้างศาสนทายาทเพื่อสืบทอดภารกิจของเจ้าอาวาสหรือพระผู้เป็นสุปฏิปันโนหลังจากท่านได้ละสังขารไป อีกทั้งยังเป็นการอุปถัมภ์พระศาสนาให้มีความยั่งยืนในระยะยาวด้วย เพราะดังได้กล่าวแล้วว่าพระศาสนาจะยั่งยืนได้มิใช่เพราะความสามารถของบุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้นแต่เพราะมีคณะสงฆ์ที่เข้มแข็งช่วยกันสืบทอดพระธรรมคำสอน

หลักการสำคัญประการหนึ่งของพุทธศาสนาคือ ให้ความสำคัญแก่หมู่คณะหรือส่วนรวมมากกว่าตัวบุคคล ส่วนหนึ่งก็เพราะพุทธศาสนาหรือพระธรรมคำสอนจะยั่งยืนสืบต่อไปได้ก็เพราะหมู่คณะ มิใช่เพราะบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แม้ผู้นั้นจะมีคุณวิเศษเพียงใดก็ตาม แต่ก็ต้องมีอันเป็นไปไม่วันใดก็วันหนึ่ง การฝากพระศาสนาไว้กับคนใดคนหนึ่งจึงเป็นเรื่องเสี่ยงอย่างยิ่ง ตรงกันข้ามกับหมู่คณะซึ่งมีการสืบต่อได้ยาวนานกว่า

คนไทยที่นับถือพุทธศาสนา ไม่ว่าอยู่ที่ใด มักหาโอกาสทำบุญอยู่เสมอ และการทำบุญที่นิยมกันมากก็คือการทำสังฆทาน ยิ่งชาวพุทธไทยที่อยู่ต่างประเทศด้วยแล้ว ชอบทำสังฆทานมากกว่าการทำบุญชนิดอื่น รวมถึงการใส่บาตร ส่วนหนึ่งก็เพราะสังฆทานนั้นสามารถทำได้ตลอดเวลา อีกทั้งยังเชื่อว่าสังฆทานนั้นมีอานิสงส์มาก

โอกาสดีที่จะได้ทำบุญ

เมื่อใดที่เราเห็นคนทุกข์ยาก
ไม่ว่าเขาจะเป็นใครมาจากไหน
เชื้อชาติอะไร ต่ำต้อยเพียงใด
อย่าได้เบือนหน้าหนี

ขอให้เปิดใจรับรู้ความทุกข์ของเขา
แล้วถามตัวเองว่าเราจะช่วยเขาได้หรือไม่ และอย่างไร

เพราะนี้คือโอกาสดีที่เราจะได้ทำบุญ ลดละอัตตาตัวตน
และบำรุงพระศาสนาอย่างแท้จริง

ในแง่ของชาวพุทธ
การช่วยเหลือผู้ที่ทุกข์ยากเดือดร้อน ทั้งๆ ที่เขาไม่สามารถให้คุณให้โทษแก่เราได้
เป็นเครื่องฝึกใจให้มีเมตตากรุณา และลดละความเห็นแก่ตัวได้เป็นอย่างดี

ยิ่งทำมากเท่าไร จิตใจก็ยิ่งเปิดกว้าง อัตตาก็ยิ่งเล็กลง
ทำให้มีที่ว่างเปิดรับความสุขได้มากขึ้น

ไม่เพียงความใจบุญหรือความเป็นพุทธเท่านั้น
แม้กระทั่งความเป็นมนุษย์ก็วัดกันที่ว่า เราปฏิบัติอย่างไรกับคนที่อยู่ต่ำกว่าเรา หรือมีอำนาจน้อยกว่าเรา
หาได้วัดที่การกระทำต่อคนที่อยู่สูงกว่าเราไม่

ถ้าเรายังละเลยเด็กเล็ก ผู้หญิง คนชรา คนยากจน คนพิการ คนป่วย รวมทั้งสัตว์เล็กสัตว์น้อย

กรุณาที่แท้ในพุทธศาสนา

บุคคลจะได้ชื่อว่าเป็นคนใจบุญ ไม่ใช่เพราะนิยมทำบุญกับสิ่งที่อยู่สูงกว่าตนเท่านั้น
หากยังยินดีที่จะทำบุญกับสิ่งที่เสมอกับตนหรืออยู่ต่ำกว่าตนอีกด้วย
แม้เขาจะไม่สามารถให้คุณให้โทษแก่ตนได้ ก็ช่วยเหลือด้วยความเต็มใจ
ทั้งนี้เพราะมิได้หวังผลประโยชน์ใดๆ นอกจากความปรารถนาให้เขาพ้นทุกข์

นี้คือกรุณาที่แท้ในพุทธศาสนา

ขณะเดียวกันก็ยังมี ...

ในทานมหัปผลสูตร อังคุตตรนิกาย พระพุทธองค์ได้ตรัสกับพระสารีบุตรว่า 
ทานที่ไม่มีอานิสงส์มากได้แก่ “ทานที่ให้อย่างมีใจเยื่อใย ให้ทานอย่างมีจิตผูกพัน ให้ทานอย่างมุ่งหวังสั่งสมบุญ”
รวมถึงทานที่ให้เพราะต้องการเสวยผลในชาติหน้า เป็นต้น

บุญที่ทำในรูปของการถวายทานนั้น ไม่ว่าจะเป็นอาหารหรือเงินก็ตาม
จุดหมายสูงสุดอยู่ที่การลดความยึดติดถือมั่นในตัวกูของกู
ยิ่งลดได้มากเท่าไรก็ยิ่งเข้าใกล้นิพพานอันเป็นประโยชน์สูงสุดที่เรียกว่า “ปรมัตถะ”
ซึ่งสูงกว่าสวรรค์ในชาติหน้า (สัมปรายิกัตถะ) หรือความมั่งมีศรีสุขในชาตินี้ (ทิฏฐธัมมิกัตถะ)

แต่หากทำบุญเพราะหวังแต่ประโยชน์ส่วนตน