Error message

  • Deprecated function: Methods with the same name as their class will not be constructors in a future version of PHP; views_display has a deprecated constructor in require_once() (line 3066 of /home/budnetorg/domains/budnet.org/public_html/sunset/includes/bootstrap.inc).
  • Deprecated function: The each() function is deprecated. This message will be suppressed on further calls in menu_set_active_trail() (line 2385 of /home/budnetorg/domains/budnet.org/public_html/sunset/includes/menu.inc).

บันทึกจากโครงการอาสาข้างเตียง

-A +A

          ดิฉันเป็นพยาบาลวิชาชีพ  ทำงานประจำการอยู่ที่หอผู้ป่วยศัลยกรรม ซึ่งมีทั้งผู้ป่วยที่เข้ามารับการผ่าตัดและผู้ป่วยเรื้อรังที่ต้องอยู่โรงพยาบาลเป็นเวลานานๆ เคยได้ยินเกี่ยวกับโครงการอาสาข้างเตียงมาบ้าง แต่ไม่เคยมีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมและไม่ทราบว่าโครงการทำกิจกรรมอะไรกัน 

          นี่เป็นครั้งแรกที่ดิฉันได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมกับโครงการอาสาข้างเตียง และได้รับมอบหมายให้เลือกผู้ป่วยในวอร์ด เพื่อให้น้องนิสิตแพทย์หลายชั้นปีเป็นอาสาสมัครเข้าไปพูดคุยช่วยเหลือด้านจิตใจแก่ผู้ป่วยเรื้อรัง 

          ครั้งแรกที่ได้รับมอบหมาย รู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ยากพอสมควร เพราะต้องพิจารณาหลายอย่างทั้งด้านของผู้ป่วยว่าต้องเป็นเคสที่ให้ความร่วมมือ เพื่อให้อาสาสมัครดำเนินกิจกรรมได้อย่างราบรื่น และที่สำคัญต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้ป่วยและผลลัพธ์ที่จะเกิดกับผู้ป่วยทั้งในด้านบวกและด้านลบ ซึ่งเป็นเรื่องที่คาดเดาไม่ได้ว่าจะเป็นเช่นไร ที่ต้องคิดเช่นนั้นเนื่องจากผู้ป่วยแต่ละคนไม่เหมือนกัน 

          จึงเลือกเคสซึ่งเป็นผู้ป่วยอายุ ๑๙ ปี เจ็บป่วยเรื้อรังตั้งแต่กำเนิด

          ด้วยโรคทำให้ผู้ป่วยรายนี้ต้องสูญเสียภาพลักษณ์ ไม่มีโอกาสเหมือนคนปกติทั่วไปตั้งแต่เด็ก ทั้งด้านการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียน และการทำกิจกรรมต่างๆ แม้ว่าผู้ป่วยจะสามารถปรับตัวได้เป็นอย่างดีและใช้ชีวิตได้อย่างเกือบเป็นปกติ แต่ความรู้สึกของคนเป็นเรื่องที่อ่อนไหว ยังแอบกังวลเล็กน้อย กลัวว่าการที่อาสาซึ่งอยู่ในวัยใกล้เคียงกันเข้าไปพูดคุย จะทำให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกเป็นปมด้อยหรือไม่ ผู้ป่วยจะคิดเปรียบเทียบตัวเขากับเพื่อนอาสาที่มีโอกาสในการเรียน การใช้ชีวิตประจำวันหรือไม่ อีกทั้งผู้ป่วยยังมีสิ่งคุกคามชีวิตในเรื่องภาวะเลือดออกจากแผล และอยู่ในช่วงที่ต้องตัดสินใจเข้ารับการผ่าตัด ซึ่งไม่สามารถบอกได้ว่าจะรักษาชีวิตของผู้ป่วยไว้ได้หรือไม่ ทำให้ผู้ป่วยกังวลมากเวลาอยู่คนเดียว หรือบางครั้งร้องไห้เมื่อคุยโทรศัพท์กับญาติ

          จากการที่ได้ดูแลผู้ป่วยรายนี้มานาน จึงพิจารณาแล้วว่าน่าจะเกิดผลในด้านดีกับผู้ป่วยมากกว่า จึงตัดสินใจเลือกเคสนี้ให้อาสาสมัครซึ่งเป็นนิสิตแพทย์ใด้ดูแล ตลอดระยะเวลาสามเดือน ตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งสิ้นสุดโครงการอาสาข้างเตียง ถือเป็นช่วงเวลาที่อาสาสมัครได้มาพูดคุย ทำให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกในใจ และคลายความวิตกกังวลลง ลืมความเศร้า ปล่อยวางความทุกข์ และมีรอยยิ้มเกิดขึ้น 

          ในช่วงเวลานั้น แม้ว่าจะสั้นๆ แต่ก็เป็นช่วงเวลาที่มีค่าสำหรับผู้ป่วย ซึ่งสำหรับพยาบาลผู้ดูแลแล้ว ไม่ได้คาดหวังว่าเราจะสามารถดูแลผู้ป่วยให้พ้นจากความทุกข์ได้ในทุกๆ เรื่อง ขอเพียงแค่เกิดความสุขเล็กๆ ขึ้นในใจของผู้ป่วย ที่สามารถทำให้ผู้ป่วยเผชิญกับภาวะเจ็บป่วย ยอมรับและปรับตัวใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ได้อย่างคุ้มค่าที่สุดตามความต้องการของผู้ป่วย ดิฉันรับรู้ได้ถึงผลลัพธ์ที่ดีกับผู้ป่วยรายนี้ และแอบดีใจว่าการตัดสินใจครั้งนี้ไม่ผิด และคิดว่าโครงการนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้ป่วยรายอื่นๆ ต่อไปในโอกาสหน้า

เกศิณี ธีรทองดี
พยาบาลวิชาชีพ ณ หอผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

 

คอลัมน์: