Error message

  • Deprecated function: Methods with the same name as their class will not be constructors in a future version of PHP; views_display has a deprecated constructor in require_once() (line 3066 of /home/budnetorg/domains/budnet.org/public_html/sunset/includes/bootstrap.inc).
  • Deprecated function: The each() function is deprecated. This message will be suppressed on further calls in menu_set_active_trail() (line 2385 of /home/budnetorg/domains/budnet.org/public_html/sunset/includes/menu.inc).

นายกสมาคมบริบาลผู้ป่วยระยะท้ายฯ จี้ สปสช. ผลักดัน Palliative Care เข้าไปอยู่ในระบบ ๓๐ บาท

-A +A

         เมื่อเร็วๆ นี้ พญ.ศรีเวียง ไพโรจน์กุล โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และนายกสมาคมบริบาลผู้ป่วยระยะท้ายแห่งประเทศไทย กล่าวในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการเสวนา “วิถีแห่งการบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย และการเยียวยาความทุกข์ของผู้สูญเสีย” ณ ห้องประชุมสังคมอุดมพัฒน์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ถึง “การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (Palliative Care)” ในเมืองไทยว่า เราต้องมีการผลักดันให้ Palliative Care เข้าสู่ระบบสุขภาพ ๓๐ บาทให้ได้

         "ประเทศไทยกำลังมีปัญหาเมื่อประชากรไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังเต็มไปหมด และเมื่อถึงระยะสุดท้าย คนไข้ และทีมสุขภาพไม่รู้จัก Palliative Care ก็จะทำให้คนไข้เผชิญกับระยะสุดท้ายของชีวิตอย่างทุกข์ทรมาน และได้รับการรักษาที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ อีกทั้งเป็นภาระต่อค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพอย่างมหาศาล” 

         นายกสมาคมบริบาลผู้ป่วยระยะท้ายฯ กล่าวถึงวิทยาการทางการแพทย์ของไทยเจริญก้าวหน้า แต่ Palliative Care เป็นรูโหว่ที่เกิดขึ้นในระบบสุขภาพ ไม่มีพัฒนาการด้านนี้เกิดขึ้น และหาก Palliative Care ไม่เข้ามาอุดช่องโหว่ตรงนี้ คิดว่าระบบสุขภาพไทยจะล้มละลาย (Bankrupt) ในเวลาอันไม่นาน ความที่บ้านเราการแพทย์สอนให้ทุกคนต้องรักษาคนไข้ให้หาย พอถึงโรคที่รักษาไม่หาย แพทย์ไม่รู้จะดูแลคนไข้ต่ออย่างไร หรือแม้แต่การดูแลแบบประคับประคอง ในความเข้าใจของคนไข้ ก็คือการกลับบ้านไปดูแลตนเอง ซึ่งไม่ใช่ ณ วันนี้มีศาสตร์ของ Palliative Care ในต่างประเทศที่มีพัฒนาการมากว่า ๔๕ ปี

         "จากการจัดอันดับ ประเทศไทย Palliative service อยู่ระดับไหน ก็พบว่า ของไทยยังเตาะแตะ (Just Starting) และอยู่ในกลุ่มเดียวกับประเทศเวียดนาม พม่า บังคาเทศ เนปาล จีน มองโกเลีย อีกตัวชี้วัดที่จะบอกว่า Palliative Care มีคุณภาพมากน้อยแค่ไหน คือ การใช้มอร์ฟีน (Morphine) ซึ่งหากเปรียบเทียบไทยกับญี่ปุ่น เทียบกันไม่ได้ แสดงให้เห็นว่า การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายนั้นเรายังทำได้ไม่ดี"

         ทั้งนี้ พญ.ศรีเวียง กล่าวอีกว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องมี Palliative Care เพราะมีผลการศึกษาพบว่า อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยในปี พ.ศ. ๒๕๔๘-๒๕๔๙ นั้น เกินกว่าครึ่งอายุมากกว่า ๖๐ ปี สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นโรคเรื้อรัง (โรคไม่ติดต่อ) กว่าครึ่งไปเสียชีวิตที่บ้าน โดยไม่มีระบบรองรับให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างสงบ และไม่เจ็บปวด

         “ขณะเดียวค่าใช้จ่ายในระยะสุดท้าย ๑ ปีก่อนผู้ป่วยเสียชีวิต มีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก คิดเป็น ๑ ใน ๓ เกือบล้มละลายจากการรักษาผู้ป่วยระยะสุดท้าย” พญ.ศรีเวียง กล่าว และว่า ดังนั้น Palliative Care ต้องรีบไปอย่างเร่งด่วนแล้ว หลังจากที่ผ่านมายังเป็นช่องโหว่

         ศูนย์ข้อมูลข่าวสารนโยบายสาธารณะ สอบถามเพิ่มเติม ถึงการเรียนการสอนในโรงเรียนแพทย์ เกี่ยวกับการรักษาแบบประคับประคองนั้น พญ.ศรีเวียง กล่าวว่า บางแห่งไม่มีวิชาการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย บรรจุเข้าไปอยู่ในหลักสูตร ขณะที่แพทย์พยาบาลที่จบออกมานั้น ก็ยังไม่รู้ Palliative Care คืออะไร รวมถึงประเทศไทยยังไม่มีศูนย์ฝึกอบรม Palliative อย่างชัดเจน

         “มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใส่ Palliative Care เข้าไปในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง หรือที่อื่นๆ แม้จะมีในหลักสูตร แต่ก็ไม่มีโอกาสได้ไปฝึกปฏิบัติจริง”

         สำหรับประเด็น Palliative Care ไม่ได้อยู่ในระบบ ๓๐ บาท นั้น พญ.ศรีเวียง กล่าวเพิ่มเติมว่า สปสช.ต้องผลักดันให้ Palliative Care อยู่ในระบบประกันสุขภาพ เช่น สนับสนุน ผู้ป่วยระยะสุดท้าย ส่งเสริมให้ยืมอุปกรณ์ นำกลับไปใช้ที่บ้านได้ รถส่งคนไข้กลับบ้าน เพื่อลดค่าใช้จ่าย หรือให้ยาเพียงพอ

         “อนาคตประเทศไทยควรมีศูนย์ Palliative Care เพื่อดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองระยะท้าย และทำให้โรงพยาบาลอำเภอ ชุมชน รู้ว่า Palliative คืออะไร มีทีมพัฒนาออกไปเยี่ยมบ้าน พูดคุยบำบัดจิตใจผู้ป่วย เป็นต้น”

 

วันศุกร์ที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖
http://www.isranews.org

 

คอลัมน์: